1.ทำการยกเบรกเกอร์เพื่อตัดกระแสไฟฟ้าในชั้นหรือบริเวณดังกล่าว เพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าในสายไฟที่เดินอยู่เหนือฝ้าเพดาน
2.ในกรณีที่มีช่องเซอร์วิสอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับตำแหน่งที่ฝ้าเพดานเสียหายอาจทำการสำรวจลักษณะของโครงคร่าวฝ้าเพดานดังกล่าวเสียก่อน เพื่อให้ทราบถึงตำแหน่งโครงคร่าวและสภาพด้านบนของฝ้าเพดาน
3.เมื่อแก้ไขต้นเหตุที่ทำให้ฝ้าเพดานเสียหายเสร็จเรียบร้อย ให้นำฝ้าเพดานใหม่มาตัดให้ได้รูปพอดีกับฝ้าเพดานเดิม และใช้ตะไบเหล็ก ตะไบขอบฝ้าเพดานทั้งสองส่วนให้ลาดเอียงเล็กน้อย เพื่อเพิ่มพื้นที่ยึดเกาะสำหรับปูนฉาบ
4.หลังจากกรีดเปิดช่องฝ้าเพดาน ก่อนสิ่งอื่นใดให้ทำการสำรวจสายไฟฟ้าที่อาจกีดขวางและเป็นอันตรายต่อการทำงานและมัดรวมกันและขยับให้พ้นบริเวณดังกล่าว และเริ่มทำการสำรวจและแก้ไขสาเหตุที่มาของความชื้นที่ทำให้ฝ้าเพดานเสียหายหรือเกิดคราบเชื้อรา
-ในกรณีของฟ้าเพดานที่ติดกับหลังคา สาเหตุความชื้นมักจะมาจากหลังคารั่วซึม ซึ่งโดยมากมักจะรั่วซึมบริเวณรอยต่อครอบสันหลังคา รางน้ำตะเข้ หรือกระเบื้องที่เผยอตัวจากแปแอ่นตัว
-ในกรณีของฝ้าเพดานทั่วไป สาเหตุความชื้นมักจะมาจาก การรั่วซึมของข้อต่อของท่อน้ำหรือรั่วซึมจากน้ำที่ขังอยู่บนพื้นเหนือฝ้าเพดาน
6.ในกรณีที่โครงคร่าวฝ้าเพดานได้รับความเสียหายและผุกร่อน ผู้รับเหมาควรแจ้งให้เจ้าของบ้านทราบและกรีดขยายเปิดฝ้าเพดานฉาบเรียบเพิ่มเติมในส่วนที่จำเป็นเพื่อเปลี่ยนโครงคร่าวฝ้าเพดานเสียใหม่ เพื่อความปลอดภัย
7.ติดตั้งฝ้าเพดานใหม่ ยึดฝ้าเพดานใหม่เข้ากับโครงคร่าว หากเป็นโคร่งคร่าวไม้ให้ยึดด้วยตะปูตอกไม้ยาว 1 – 1.5 นิ้ว หากเป็นโครงคร่าวเหล็กชุบสังกะสีให้ยึดด้วยตะปูเกลียวชนิดหัวฝังจม (23 มม.)
8.ฉาบรอยต่อฝ้าเพดานและโป๊วปิดหัวตะปูด้วยปูนพลาสเตอร์ฉาบรายต่อ ตราช้าง
9.หลังจากปูนพลาสเตอร์ฉาบรอยต่อแห้งให้ขัดรอยต่อด้วยกระดาษทรายให้เรียบ จากนั้นจึงลงมือทาสีให้เหมือนเดิม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น